วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

วัดสักใหญ่

วัดสักใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นโดยพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมกับบรรพบุรุษในท้องถิ่นนี้ จัดสร้างวัดสักใหญ่ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2317 วัดสักใหญ่มีคำขวัญประจำวัดว่า “หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ภาพพุทธประวัติล้ำค่า อุทยานปลาน่าชม เดินทางสวนผลไม้และไม้ดอกงามตา" จากคำขวัญทำให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนพอจะทราบได้ว่าสิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่อะไรบ้าง
เริ่มจากพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงของวัด หลวงพ่อสุโขทัย  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งามยิ่งองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 1900-2000 เป็นพระพุทธรูปตอนปลายสมัยพระมหาธรรมราชา มีลักษณะสวยงาม สมสัดส่วน กล่าวคือมีพระพักตร์คล้ายใบหน้าสตรี ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย องค์พระถูกห่อหุ้มด้วยปูน สันนิษฐานว่าเมื่อคราวพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ประชาชนตลอดจนพระภิกษุช่วยกันพอกปูนเพื่อให้พม่าคิดว่าเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ต่อมาปูนที่ได้พอกพระพุทธรูปได้กะเทาะออก ส่งผลให้เห็นทองอยู่ด้านใน จึงทำการกะเทาะปูนออกและลงรักปิดทองใหม่ โดยมีพุทธศาสนิกชนนิยมมากราบไหว้ สรงน้ำ และปิดทองเป็นประจำทุกปี
ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างวัดสักใหญ่ นอกจากนี้ยังมีภาพพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าเปิดโลก และพระบรมธาตุที่สำคัญของเมืองไทยให้ได้ชม
ส่วนอุทยานปลาน่าชมเป็นอุทยานปลาน้ำจืด ตั้งอยู่ข้าง ๆ กับพระอุโบสถ ภายในมีบ่อปลาหลายชนิดและมีปลาขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยถึง 10-20 กิโล โดยทางวัดมีอาหารจำหน่าย นอกจากปลาแล้วหลังวัดยังมีบ่อเต่าขนาดใหญ่ซึ่งมีเต่าและตะพาบน้ำอาศัยอยู่มากมาย
ในส่วนของการชมสวนผลไม้และไม้ดอกจะเป็นทางหลังวัดสักใหญ่ที่ชาวบ้านปลูกกันไว้ โดยมีผลไม้มากมายหลายหลากชนิด เช่น ส้มโอ ขนุน มะม่วง มะพร้าวอ่อน ชมพู่ และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชมและซื้อหากลับบ้านได้

บรรยากาศภายในวัด









วัดโพธิ์ บางโอ

วัดโพธิ์ บางโอ ตั้งอยู่ในถนนเส้นบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลวัดชลอ หรือ หากไปทางน้ำต้องเดินจากท่าเรือเข้าไปประมาณ 200 เมตร  เป็นวัดเก่าในสมัยอยุธยา ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3  โดยกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล  เสนีวงศ์) พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง 
     พระอุโบสถ ทำชายหลังคาของพาไลรอบพระอุโบสถแบบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หน้าบันสลักไม้รูปนารายณ์ ทรงครุฑลายกนกขมวดเกี่ยวพันกัน เบื้องหลังมีเทพพนมและยักษ์พนม  ซุ้มประตูทางเข้าวัดทำเป็นหัวเม็ด เป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สูงขึ้นและเอนเข้าหากัน เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของตัวอาคาร  เสาใกล้จะถึงส่วนหลังกำแพงแก้วมีบัวหงายรองรับอีกต่อหนึ่งแปลกตากว่าที่อื่น  เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย  ลักษณะศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย  สังเกตได้จากซุ้มเสมาทรงกลมตลอด  ฐานของซุ้มก็ทรงกลมตัวซุ้มแหวะ เป็นช่องหน้าต่างสามช่อง  ทรงยอดโค้งคล้ายซุ้มจระนำ หันหลังชนกันสามทิศ ข้างบนมียอดเล็กๆ ปั้นปูนลวดลายงดงาม รับกับบัวยอดซุ้มและแข้งสิงห์เบื้องล่าง  ศิลปะรูปปั้นงามนี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายลักษณะลวดลายบ่งชัดว่าเป็นฝีมือช่างสมัยพระบรมโกศ  ใบเสมาเป็นหินทรายทำรูปหัวนาคออกสองข้างเอวเสมาเหมือนกันแต่ทรงด้านบนอวบอ้วน ใบเสมาแบบนี้อายุเก่ากว่าใบเสมาสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ใบเสมาช่วงหลังจะทรงเพรียวกว่า มีเจดีย์ทิศล้อมรอบตัวพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ซุ้มบันแถลงประดับกรอบประตูหน้าต่างทำจากปูนน้ำอ้อย 
     บานประตูพระอุโบสถทั้งหน้าและหลังมีด้านละสองบาน ปั้นปูนซุ้มประตูเป็นรูปฤาษีพนมและบางซุ้มก็ทำรูปเทวดารำอยู่กลางซุ้ม เข้าใจว่าเป็นฝีมือปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3   บานประตูเขียนลายทองรูปกนกใบเทศลายละเอียดมาก  บนหน้าต่างก็เขียนลายทอง คือเป็นลายรดน้ำเช่นเดียวกับประตู  ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมแป้งสาคูเปียกฝีมือช่างสกุลนนทบุรี ภาพระหว่างช่องหน้าต่างเขียนรูปปริศนาธรรม  ผนังด้านซ้ายพระประธาน เขียนรูปพระปลงกัมมัฏฐานในลักษณะหลายแบบหลายวิธี  ผนังด้านหน้าเขียนรูปพุทธประวัติแสดงถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระพุทธองค์  พระพุทธรูปในพระอุโบสถ ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่หน้าพระอุโบสถยังมีรูปสลักหินทำจากเมืองจีน  คล้ายเป็นรูปยักษ์รักษาวัด ตนหนึ่งหน้าดุอีกตนหนึ่งหน้ายิ้ม มือถือกระบองด้วยกันทั้งคู่เป็นศิลปะอันงดงามเป็นของประจำวัด  ซึ่งตามวัดในอาณาบริเวณแถบนี้ไม่มีภาพสลักชนิดนี้ 
     หอระฆังวัดโพธิ์บางโอ หอระฆังที่วัดนี้เป็นสกุลช่างเมืองนนทบุรีทั้งหมด  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชชนนีเป็นสกุลฝ่ายเมืองนนทบุรี จึงทรงอุปการะการสร้างวัดในเขตนนทบุรี แบบมณฑปยอดเจดีย์ผสมกันระหว่างหอสูงรูปสี่เหลี่ยมและเจดีย์ย่อมุม

ภาพบรรยากาศในวัด








ของo-topของตำบลวัดชลอ

ขึ้นชื่อว่าตำบลเราต้องนึกถึง1อำเภอ1ตำบล หรือก็คือ  o-top
ลองเข้าไปเลือกชมได้ที่เว็บไชด์นี้เลยhttp://www.thaitambon.com/tambon/120201

วัดกระโจมทอง

วัดกระโจมทอง ตั้งอยู่ที่ ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดสวนใหญ่ ที่นี่มีหลวงพ่อพระสุทัศน์ โกสโล เป็นเจ้าอาวาสวัด บรรยากาศวัดร่มรื่นต้นไม้เยอะมีองค์พระสวยงามมากมาย มีงานบุญบ่อยสามารถมาร่วมทำบุญได้ทุกวันสำคัญทางพุทธศาสนาและวันสำคัญของทางวัด


ทางเดินในวัด


พระใหญ่


ธรรมจักร


สมเด็จองค์พระปฐมสิกขีทศพล(ญาณที่ ๑)



วัดชลอ

วัดชลอ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ทั้งนี้เนื่องจากกรมศิลปกรได้วิเคราะห์อุโบสถหล้งเก่าน่าจะมีอายุประมาณ ๖๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้วในสมัยพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ ๑) เหล่าพลทหารไพร่พลของพระองค์ได้เคยมาพักรอรับการเสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดชลอนี้ ครั้นเมื่อเรือพระที่นั่งมาถึง ได้จัดสร้างกระโจมตั้งเสาที่มีการเจาเใส่ทองไว้ภายในสำหรับตั้งที่ประทับ ณ บริเวณนี้ ซึ่งในขณะนั้นเป็นลานกว้าง ประมาณ ๕๐ ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดชลอไป ทางทิศตะวันออกประมาณ ๗๐๐ เมตรนอกจากนี้ คลองบางสีทอง ซึ่งเป็นคลองเก่าแก่อยู่ไม่ไกลจากวัดชลอ เล่ากันว่าได้รับพระราชทานนามจากพระเจ้าอู่ทอง ที่ได้เสด็จผ่านบริเวรดังกล่าวประดุจดังหนึ่งเป็นสีทอง เกิดขึ้้นในบริเวณนั้น เล่ากันว่า ในระยะเวลาดังกล่าว วัดชลอมีความเจริญรุ่งมากมีอีกตำนานหนึ่งเล่ากันว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๐๒๑ พระบาทสมเด็จพระะจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จ ทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านจังหวัดนนทบุรี เรือยมาทางคลอง "ลัด"(ปัจจุบันเรียกว่า "คลองบางกรวย") ทรงทอดพระเนตร ๒ ฟากคลองซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบัน ทรงดำริว่า "ทีตรงนี้น่าจะสร้างวัดมาสักวัดหนึ่ง ชาวบ้านจะได้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ" บรรดาเหล่าเสนาอำมาตย์น้อยใหญ่ได้ฟังต่างพากันตกใจกลัว จึงได้ตรัสถามว่ากลัวอะไร ก็ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลว่า "ที่ตรงนี้มีอาถรรพ์ ในอดึตกาลเคยมีเรือสำเภามาจากเมืองจีนมาเมืองไทย เมื่อมาถึงนี้ได้เกิดอับปางลงด้วยแรงพายุจัด มีคนตายเป็นอันมาก ที่บริเวณดังกล่าว ทำมาค้าขายไม่ขึ้น แถมยังก่อให้เกิดหายนะแก่บริเวณนี้" เหล่าเสนาอำมาตย์พากันทูลถวายเรื่องราวในอดีตให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบ แทนที่จะทรงเห็นด้วยตามอำมาตย์กราบบังคมทูล พระเจ้าอยู่บรมโกศ มรงมีรับสั่งว่าสร้างเสียตรงนี้แหละดี เรื่องร้าย ๆ จะได้ไม่เกิดขึ้น ชาวบ้านจะได้มีที่ทำกินเพิ่มขึ่นการสร้างวัดบริเวณดังกล่าว เป็นไปอย่างยากลำบากมีอุปสรรคนานับปการจนทหารที่มาช่วยกันก่อสร้างถึงกับท้อถอยหมดกำลังใจ บางคนถึงกลับหนีกลับกรุงศรีอยุธยาไปเลยก็มี ในที่สุดการสร้างวัดดังกล่าวก็ได้สำเร็จลง แต่เรื่องราวลึกลับยังไม่จบสิ้นง่าย ๆ เพราะในคืนนั้นได้เกิดเหตุอาเพศฝนตกหนัก ฟ้าผ่าลงกลางโบสถ์นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ใจไม่น้อย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงประกอบพิธีเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาฟ้าดินว่า มาตรแม้พระองค์มีบุญญาภินิหารจริงขอให้บอกเหตุการณ์แก้เคล็ดด้วย และในคืนนั้นเองพระองค์ทรงสุบินนิมิตไปว่า มีชายชาวจีนชรามากกราบทูลขอให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงปลดปล่อยพวกตนซึ่งเป็นผีตายโหงเพราะเรือล่ม พระองค์ได้ทรงตรัสไปว่า จะทำอย่างไรขอให้บอก ชายชราชาวจีนได้กราบบังคมทูลว่า อยากให้พระองค์สร้างวัดที่ตรงนี้อีก แต่ทุกอย่างต้องเป็นตามเคล็ดนั่นคือสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา หากสร้างเป็นอี่นกลัวโดนฟ้าผ่าอีกแน่นอน เมื่อทรงตื่นจากบรรทม ก็ทรงเชื่อว่าความฝันนั้นเปรียบเสมือนลางบอกเหตุ เป็นการเตือนจากวิญญาณของภูตผีปีศาจที่สิ่งสถิตอยู่ ณ ที่นี ในที่สุด วัดที่มีโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาก็ได้สร้างแล้วเสร์จในคราวนี้โดยไม่มีเหตุอาเพศใด ๆ เกิดขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยความราบรื่นพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระราชทานนามวัดกล่าวว่า "วัดชลอ" นี้คือตำนานที่มาของวัดที่ต้องคำสาป เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมา วัดชลอก็ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าโดยตลอดมา เพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือรัชกาลที่ ๔ นั่นเอง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ตามลำดับในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองติดต่อกับวัดชลอ ปัจจุบันคือคลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ (น่าจะเป็นคลองบางกรวยกับวัดชลอมากกว่า เพราะคลองบางกอกน้อยส่วนที่เรียกว่า คลองวัดชลอ ขุดใน พ.ศ.๒๑๐๐ สมัยสมเด็จพระมหาจ้กรพรรดิ และคลองหมาสวัสดิ์ขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในสมัยนั้นน้ำในคลองที้งสองแห่งไหลเชี่ยวมากเป็นคลองสองแยก เรือพ่ายผ่านไปมาเกิดอุบัติเหตุทางน้ำชนกันบ่อย จึงได้เขียนป้ายบอกไว้ "ช้ารอ" จึงกลายมาเป็นที่มาของวัดว่า "ชลอ" ในปัจจุบันในสม้ยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ากันว่า พระองค์ทรงเสด็จ ฯ มาตามคลองบางกอกน้อยผ่าน "วัดไก่เตี้ย ไก่ต้อย วัดนัอย วัดพิกุลทอง วัดชลอ "..ทั้งนี้เพรวะวัดชลอตั้งอยู่ริมน้ำ มีเจดีย์สวยงามสถานที่ร่มรื่น นอกจากนี้แล้วสมเด็จพระนางสุนันทากุมารมารีรัตน์ ( พระนางเรือล่ม ) ยังทรงเคยเสด็จประพาสทางน้ำมาจอดเรือที่วัดชลอและได้ถวายธรรมมาสน์บุษบกและธรรมมาสน์สวดไว้ ๑ ชุด


ภาพวัด



ส่วนเรือหงส์


โบสถ์


โบราณสถานวัดชลอ

วัดท่าบางสีทอง

วัดท่า บางสีทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๑ หมู่ ๑๐ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย
ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ เจ้าอาวาส พระอธิการสมพร อควํโส (หมอยา) อยู่หน้าไปรษณีบางกรวย วัดท่าบางสีทองนั้นมีหลวงพ่อสัมประสิทธิ์เป็นพระพุทธรูปประจำวัดซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในวัดท่าบางสีทอง และยังมีต้นตะเคียน2ต้น ซึ่งผู้คนต่างถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน จุดเด่นของวัดท่าบางสีทอง คือ หลวงพ่อสัมประสิทธิ์


ทางเข้าวัดท่าบางสีทอง



ภาพแนว Panorama
โบสถ์

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

วัดกล้วย

วัดกล้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)นนทบุรี จากที่ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดกล้วยจากผู้รู้ที่เล่าต่อๆกันมาได้ความว่า"มีคุณยายสองท่านผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องการที่จะใช้ทรัพย์สมบัติของท่านในการสร้างพุทธศาสนสถานขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน คุณยายทั้งท่านแรกมีชื่อว่า กล้วย คุณยายท่านที่สองชื่อว่า ม่วง ได้แบ่งกันว่าจะสร้างวัดตรงไหน จึงใช้ลำประดงโดยการวางลำประดงตามแนวขวางในการแบ่งทิศที่จะสร้างวัด คุณยายกล้วยได้เลือกทิศฝั่งซ้ายซึ่งนั้นก็คือทิศเหนือซึ่งก็กลายเป็นที่ตั้งวัดกล้วยในปัจจุบัน ส่วนคุณยายม่วงเลือกฝั่งขวาซึ่งเป็นทิศใต้ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดม่วงแต่วัดม่วงไม่ปรากฎว่าอยู่ที่ใด
จุดเด่นของวัดกล้วย คือ การบริการพุทธศาสนิกชนโดยการใช้สถานที่ของวัดได้โดยไม่เก็บเงินขั้นต่ำเหมือนวัดอื่นตามระแวกนี้ จึงทำให้วัดกล้วยจัดงานต่างๆบ่อย เช่น งานทำบุญครบรอบวันตาย งานศพ